ถึงแม้ว่า บริษัท รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ต้องรอการส่งมอบสิทธิ์ ประมาณ 1 ปีครึ่ง ก่อนที่จะได้รับอนุญาตในการเข้าไปบริหารจัดการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ภายหลังการลงนามในสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน แต่การศึกษาในมิติต่างๆ ได้เริ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความพร้อมทันทีหลังการส่งมอบแอร์พอร์ตลิงค์ มาสู่การบริหารจัดการของ บริษัทรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยได้เริ่มศึกษาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ล่าสุด ได้มีความคืบหน้าการศึกษา Universal design หรือการออกแบบเพื่อผู้พิการ เพื่อใฟ้สถานี และการขนส่งผู้โดยสาร เข้าถึงผู้โดยสารทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม โดยทำวิจัยร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการวิจัยและศึกษา ซึ่งอาจต้องใช้โดยมีแผนจะปรับปรุงบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสถานี ทั้งนี้ ยังให้ความสำคัญกับผู้พิการที่เข้ามาใช้บริการ โดยได้มอบหมายให้ทีมงานจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีคุณอุกฤษ วรรณประภา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตย์ เป็นหัวหน้าทีมวิจัย จัดทำแบบร่างด้วยแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน(Universal Design)และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ(Design Thinking) สำหรับโครงการรรถไฟความเร็วสงูในประเทศไทย
ทั้งนี้เนื่องจาก โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) โดยมีแนวเส้นทางโครงการผ่าน 5 จังหวัด ซึ่งปัจจุบัน ยังมีโอกาศในการพัฒนาอยู่หลายประเด็น โดยเฉพาะการเข้าใช้บริการสาธารณะของผู้พิการ เนื่องจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่ไม่เอื้อต่อการเข้าใช้พื้นที่ โดยเฉพาะสำหรับผู้พิการที่ยังไม่มีการออกแบบรองรับการให้บริการที่ชัดเจน
ดังนั้นเพื่อเป็นการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และเป็นการส่งเสริมให้เกิดข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบสภาพแวดลอ้มทางกายภาพสถานีรถไฟฟ้าตามหลักแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) โดยได้ออกแบบการศึกษาสำหรับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอรต์ เรล ลงิค์ (Airport Rail Link) ซึ่งยึดแบบประเมินดัชนีการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ (PTAI) และกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพและคนชรา ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาปรับสภาพแวดล้อมภายในสถานีรถไฟฟ้า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมกันในสังคม