รถไฟความเร็วสูงคืออะไร
รถไฟความเร็วสูง คือ “ขบวนรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงกว่า 200 กม./ชม. บนทางรถไฟเดิมที่ปรับปรุงเพื่อการเดินรถไฟความเร็วสูงแล้ว” หรือ “ขบวนรถไฟที่วิ่งเร็วกว่า 250 กม./ชม. บนเส้นทางพิเศษที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อเดินรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ” ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกของโลกที่พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงขึ้น
ที่มา : https://th.pngtree.com/freepng/high-speed-train_2869828.html
รถไฟความเร็วสูงมีกี่ประเภท
ปัจจุบันมีรถไฟความเร็วสูงที่สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วสูงสุดกว่า 500 กม./ชม. จากเว็บไซต์ www.springnews.co.th กล่าวไว้ว่ารถไฟความเร็วสูงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังตารางข้างล่างต่อไปนี้
การพัฒนารถไฟความเร็วสูงในปัจจุบัน
ปัจจุบันประเทศไทยมีเส้นทางรถไฟทั้งสิ้นประมาณ 4,100 กิโลเมตร มีเส้นทางกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยมีสถานีหัวลำโพงเป็นศูนย์กลาง และมีเส้นทางผ่านจังหวัดต่างๆ ทั้งสิ้น 46 จังหวัด โดยวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 12 (ฉบับพิเศษ) เดือนกุมภาพันธ์ 2560 สัมภาษณ์พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยพบว่าในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องสร้างโครงข่ายใหม่ทั้งหมด ทั้งเส้นทาง สถานี และอื่นๆ อีกทั้งต้องปรับเปลี่ยนระบบรางให้เป็นระบบไฟฟ้า ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณที่สูงมากๆ ซึ่งการใช้รถไฟความสูงมีจุดประสงค์เพื่อการแข่งขันกับการขนส่งทางอากาศและส่งสินค้าเท่านั้น

ที่มา : www.77kaoded.com/content/285972
ผลของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในอนาคต
สำหรับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงของไทยในอนาคต ในปัจจุบันควรคำนึงถึงการพัฒนารถไฟที่ใช้ในปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น การสร้างรางคู่ การปรับปรุงและเพิ่มโครงข่ายเส้นทาง การพัฒนาด้านการบริการ เนื่องจากการพัฒนาดังกล่าวยังไม่ต้องลงทุนสูงมากนักซึ่งน่าจะเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ระบบการเงิน ค่าครองชีพในประเทศไทย แต่ถ้าจะพัฒนารถไฟความเร็วสูงให้เกิดขึ้นโดยเร็วโดยที่รถไฟแบบดั้งเดิมยังไม่มีการพัฒนาจากภาครัฐและเอกชนอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของค่าครองชีพที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงย่อมทำให้มีค่าโดยสารที่แพงกว่า ซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ของประเทศและมักจะเกิดคำถามตามมาว่า ประชาชนจะใช้บริการหรือไม่ ถ้าไม่รัฐบาลจะมีวิธีการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร เพื่อลดราคาค่าโดยสารให้เหมาะสมกับกำลังที่ประชาชนจะสามารถจ่ายได้หรือทำให้ประชาชนใช้บริการจำนวนมากพอเพื่อให้คุ้มทุน
อัตราค่าบริการโดยประมาณ
สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรคำนึงถึงเมื่อมีการนำรถไฟความเร็วสูงเข้ามาใช้ในไทยคือ เรื่องของอัตราค่าบริการ ว่าราคานั้นมีความเหมาะสมหรือประชาชนสามารถเข้าถึงได้หรือไม่ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ประชาชนเลือกใช้บริการอีกด้วย ลองมาพิจารณากันดูว่าถ้าหากมีอัตราค่าบริการที่สูงกว่าการบริการรูปแบบอื่น เช่น เครื่องบิน รถทัวร์ แต่ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางแทบจะไม่ต่างกันมากนัก ธุรกิจของรถไฟความเร็วสูงจะมีประชาชนให้ความสนใจหรือไม่ จากเว็บไซต์ www.thebangkokinsight.com ได้นำเสนออัตราค่าบริการจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งดังรูปต่อไปนี้

ที่มา : www.thebangkokinsight.com/63202/
จากตารางข้างต้นเป็นตารางแสดงระยะทาง (กิโลเมตร) ระหว่างสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่ง โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ได้จากแอพลิเคชัน Google Maps ซึ่งใช้สำหรับค้นหาเส้นทางสำหรับการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ดังนั้นเราจะสามารถหาอัตราค่าบริการต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร ระหว่างสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งได้ดังตารางที่จะกล่าวต่อไปนี้
จากการวิเคราะห์อัตราค่าบริการรถไฟความเร็วสูงในช่วงระยะทางที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะพบว่ามีอัตราค่าบริการต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรที่สูงกว่าเส้นทางต่างจังหวัด ดังนั้นจึงได้ทำการเปรียบเทียบอัตราบริการระหว่างรถไฟความเร็วสูงกับเครื่องบินและรถตู้ขนส่งผู้โดยสารดังตารางต่อไปนี้
จากตารางเปรียบเทียบอัตราค่าบริการระหว่างรถไฟความเร็วสูงกับรถตู้โดยสารระหว่างจังหวัด โดยข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ https://www.dlt.go.th ซึ่งเป็นข้อมูลของกรมขนส่งทางบก พบว่าอัตราค่าบริการของรถไฟความเร็วสูงมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับรถตู้โดยสาร อัตราค่าบริการของรถไฟความเร็วสูงที่ค่อนข้างสูงนี้แลกมากับความสะดวกสบายหรือการอำนวยความสะดวกในเรื่องของเวลา สภาพการจราจรที่ไม่ติดขัด ซึ่งในส่วนนี้ไม่ได้กล่าวถึงการเปรียบเทียบกับเครื่องบินเนื่องจากว่าไม่พบเที่ยวบินในเส้นทางดังกล่าว
Hyperloop จะกลายเป็นการขนส่งแห่งอนาคตในไทยได้หรือไม่
ถึงแม้จะดูเหมือนว่าเป็นความคิดที่เหนือจินตนาการ แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าให้ความสนใจและตั้งคำถามขึ้นมาในใจว่าประเทศไทยจะสามารถนำเทคโนโลยี Hyperloop มาใช้ได้หรือไม่ แล้ว Transpod Hyperloop คืออะไรกันแน่ เรามาทำความรู้กับเทคโนโลยีนี้กันดีกว่า
Hyperloop คืออะไร
Hyperloop เป็นระบบขนส่งรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายยานแคปซูลหรือยานคอนเทนเนอร์ซึ่งเดินทางด้วยความเร็วสูงผ่านท่อสุญญากาศ ยานแคปซูลจะลอยตัวโดยใช้เทคโนโลยีการลอยตัวด้วยแรงแม่เหล็กหรือลอยตัวด้วยล้อเลื่อนอากาศ เนื่องจากตัวท่อมีแรงเสียดทานน้อยมากส่งผลให้แคปซูลสามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็วด้วยความเร็วสูงสุดที่คาดการณ์ไว้ที่ 760 ไมล์ต่อชั่วโมง (1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในช่วงแรกจะขับเคลื่อนโดยใช้กำลังมอเตอร์ไฟฟ้าก่อน จากนั้นจะใช้เทคโนโลยีการลอยตัวซึ่งสามารถแล่นด้วยความเร็วไปเรื่อย ๆ ในสภาพแวดล้อมที่มีแรงดันต่ำไต้ตัวท่อ สำหรับ Hyperloop จะมีทั้งส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินและอยู่ใต้ดินโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เมตรเท่านั้น โดยจะใช้พื้นที่น้อยกว่ารถไฟแบบดั้งเดิมมากการออกแบบแคปซูลในปัจจุบันจะออกแบบให้แคปซูลเป็นอิสระต่อกัน โดยที่สามารถปล่อยได้ตามต้องการใช้เวลาทุก ๆ 20 วินาที และมีเป้าหมายการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบขับเคลื่อนจะใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์

ที่มา : https://www.redbull.com/int-en/vichyper-hyperloop-creators-interview
ต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร
หนึ่งในประเด็นหลักสำคัญเพื่อเปลี่ยนไปใช้ Hyperloop คือ เรื่องการประหยัดต้นทุนที่เป็นไปได้ของเทคโนโลยีเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง ต้นทุนที่จำเป็นของ Hyperloop น่าจะเป็นเรื่องของพื้นที่ก่อสร้างตัวท่อและใช้พลังงานขนส่งแคปซูลน้อยกว่ารถไฟแบบดั้งเดิมมาก จากข้อมูลใน www.telegraph.co.uk มีการนำเสนอว่าการก่อสร้างในลอสแอนเจลิสจะมีราคาประมาณ 6 พันล้านเหรียญ หรือ 11.5 ล้านเหรียญต่อไมล์ เทียบกับรถไฟความเร็วสูงต้นทุนอยู่ที่ 68 พันล้านเหรียญ จากที่กล่าวมาอาจจะมองเห็นภาพยังไม่ค่อยชัดเจนในการเปรียบเทียบระหว่างรถไฟความเร็วสูงกับ Hyperloop ดังนั้นเราจะพาไปดูการเปรียบเทียบถึงข้อแตกต่างดังรูปต่อไปนี้

ที่มา : www.quickserv.co.th/knowledge-base/it/Hyperloop/
Hyperloop เหมาะกับประเทศไทยจริงหรือ??
พิจารณาและทำการเปรียบเทียบกับการขนส่งประเภทอื่นๆ สามารถแบ่งความต้องการใช้ยานพาหนะเพื่อวัตถุประสงค์ของผู้บริโภคออกเป็น 2 ด้านได้แก่
- ด้านการขนส่งผู้โดยสาร
ในปัจจุบันในประเทศไทยมีการขนส่งทางบกและขนส่งผู้โดยสารที่ยังมีประสิทธิภาพไม่มากพอ สำหรับการเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ที่อยู่ห่างจากกันมากถึง 500 กิโลเมตร ในกรณีนี้การเดินทางโดยเครื่องบินจะประหยัดเวลากว่าการขนส่งทางบกแต่จำเป็นที่จะต้องเผื่อเวลาที่ไว้ล่วงหน้า 1–2 ชั่วโมง ในขณะเดียวกันเมื่อมาใช้บริการรถไฟแบบเดิมก็มักจะยุ่งยากและเพิ่มระยะเวลาการเดินทางเป็นหลายเท่าเมื่อเทียบกับเครื่องบิน ดังนั้นเทคโนโลยี Hyperloop ก็อาจจะตอบโจทย์สำหรับคนที่ชอบความรวดเร็วซึ่งอัตราค่าบริการก็แทบจะไม่แตกต่างกับอัตราค่าบริการของเครื่องบิน
- ด้านการขนส่งสินค้า
ประเทศไทยในปัจจุบันมีความต้องการที่มากขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้าอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นวิธีการขนส่งที่ใช้มากที่สุดสำหรับการขนส่งสินค้าด่วนตามด้วยการขนส่งทางบก การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดและการเข้าสู่สมาคมอาเซียนทำให้มีการตื่นตัวในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศมากขึ้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งถ้ามีการพัฒนาและนำ Hyperloop มาใช้ในประเทศไทยเพื่อจะสามารถส่งสินค้าข้ามเมืองและประเทศเพื่อนบ้านได้ภายในเวลาอันสั้น
อะไรคือ Transpod Hyperloop
เทคโนโลยี Transpod Hyperloop คือ เทคโนโลยี TransPod เป็นการผสมผสานระหว่างการทำงานของระบบรถไฟและเครื่องบิน มีการเคลื่อนที่เหมือนเครื่องบินในสภาพแวดล้อมที่มีความดันต่ำซึ่งไม่มีการสัมผัสกับรางซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและแสงอาทิตย์ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่ากับพลังงานอื่น ๆ TransPod มีความแตกต่างจากระบบไฮเปอร์ลูปอื่นๆ ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ง่ายกว่าทำให้ลงทุนต่ำกว่าและมีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำกว่าอีกด้วย มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานหลักๆ สองด้าน ได้แก่ ให้บริการเพื่อการขนส่งผู้โดยสารและด้านการขนส่งสินค้า ซึ่งได้ทำการสรุปข้อดีและข้อเสียของทั้งสองด้านในมาในรูปของตารางที่จะนำเสนอข้างล่างดังนี้


บทสรุป
ในการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของอินโดจีนมีเป้าหมายในการก่อสร้างเส้นทางเดินรถไฟความเร็วสูง 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ สายตะวันออก สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ โดยแต่ละสายนั้นมีผู้ประมูลลงทุนที่แตกต่างกันไป ในช่วงแรกมีกลุ่มผู้สนใจร่วมประมูลรายใหญ่จากสองชาติ คือญี่ปุ่นและจีน ญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในสายเหนือ โดยยืนยันที่จะไม่ใช้ทางร่วมกับโครงการของจีน ทำให้เกิดปัญหาขึ้นภาพรวมของโครงการจึงล่าช้า แม้ว่ารัฐบาลไทยเจรจากับญี่ปุ่นหลายรอบ แต่ท้ายที่สุดการเจรจาก็ล้มเหลว ทำให้เหลือเพียงผู้ลงทุนของ China Railway Construction Corporation Limited เป็นคู่สัญญาสัมปทานโครงการ ซึ่งประเภทของรถไฟความเร็วสูงที่ใช้คือ เหอเชี๋ย ห้าว ซึ่งเป็นชื่อเรียกรถไฟความเร็วสูงในจีนที่บริหารงานโดยการรถไฟจีน มีรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ระบบจ่ายไฟ 25 kV 50 Hz และความเร็วที่ 250–480 กม./ชม.
จากคำนิยามของสหภาพรถไฟนานาชาติ ได้กล่าวว่ารถไฟความเร็วสูงจะต้องใช้ความเร็วได้ถึง 250 กม./ชม. บนทางที่สร้างใหม่ หรือ 200 กม./ชม. บนทางเดิมที่มีการปรับปรุง ปัจจุบันรถไฟไทยเฉพาะขบวนด่วนพิเศษใช้ความเร็วสูงสุดที่ 80 กม./ชม. นั่นแสดงให้เห็นว่ารถไฟความเร็วสูงจะมาวิ่งบนรางที่มีอยู่ไม่ได้ต้องสร้างทางใหม่ข้างทางรถไฟปัจจุบัน โดยเฉพาะต้องเผื่อพื้นที่รัศมีโค้งให้รองรับความเร็วที่เพิ่มขึ้นได้ ค่าเวนคืน ค่าก่อสร้างทาง ระบบเดินรถและระบบความปลอดภัย รวมทั้งค่าดำเนินการต่างๆ ซึ่งก็ถือว่าต้องลงทุนสูงพอสมควร ส่งผลให้มีการกำหนดค่าโดยสารที่แพงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งความเป็นจริงแล้วผู้โดยสารที่เป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป ถ้าเดินทางจากโคราชเข้ากรุงเทพมหานครภายในเวลาชั่วโมงครึ่ง ค่าโดยสาร 1,200 บาท ท่านยินดีที่จะจ่ายหรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบคงขึ้นอยู่กับว่าผู้เดินทางนั้นเป็นใคร ความจำเป็นในการเดินทาง รวมไปถึงปัจจัยด้านราคาน้ำมัน ก๊าซเอ็นจีวี และค่าตั๋วรถโดยสารที่เป็นทางเลือก แต่ปัจจัยที่ถือว่าสำคัญที่สุด คือ รายได้ของผู้เดินทางจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ายินดีที่จะ “จ่าย” ได้หรือไม่ เมื่อเทียบรายได้เฉลี่ยคนไทยกับคนญี่ปุ่นหรือเกาหลีประชากรในประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยของประชากรต่อหัวที่ถือว่าน้อยมาก
แต่ในอนาคตวันหนึ่งรถไฟความเร็วสูงก็จะต้องกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศ และจะช่วยกระตุ้นการเติบโตให้เมืองหลัก ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยความจะมีใช้เพื่อความพัฒนาของประเทศทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในทำนองเดียวกันก็ควรมีการพัฒนาอย่างระมัดระวังเนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเป็นของใหม่ มีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ นอกจากความคุ้มค่าทางการเงินแล้วยังมีเรื่องประสิทธิภาพการควบคุมการเดินรถ การจัดองค์กร โครงสร้างราคา ความปลอดภัย วิถีชุมชนที่จะถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งระหว่างผู้ที่มีรายได้สูงมากกับประชาชนที่มีรายได้ปานกลางไปจนถึงรายได้ต่ำ
บทความนี้เขียนโดย นางสาวพชรพรรณ กองอุดม และบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา Automative Engineering (อาจารย์ประจำวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพล มหายศนันท์) สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อ้างอิง
กรมการขนส่งทางบก. ค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมโดยสารประจำทางหมวด 2. Posted: June 1, 2018. (Online)
https://www.dlt.go.th/th/download.php?ref=M2E0LJyirTkjoz13q29ZMT1sM2I0oTycrTMjpJ1Sq2IZoT1vM2S0qTysrPMjZJ03qmOZAz1kM0I0MTycrS8oSo3Q
Ahthit, I. & Pienpit, R. & Naratorn, S. Thailand’s Railroad Development and Future High Speed Train Development. Bansomdejchaopraya Rajabhat University.
Hyperloop in thailand. (2019). Preliminary study on the implementation of a TransPod Hyperloop line in Thailand.
hyperloop Thailand. Thailand needs hyperloop, not China-built high- speed rail. Posted: October 2, 2018. (Online)
https://www.bangkokpost.com/news/politics/1550586/thailand-needs-hyperloop-not-china-built-high-speed-rail-thanathorn
State Railway of Thailand. History Railway of Thailand. Bangkok : State Railway of Thailand.54