การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน
โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกหรือ Eastern Seaboard ซึ่งดำเนินมาตลอดกว่า 30 ปี ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินถือเป็นโครงการภายใต้อีอีซี เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อยอดอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
รถไฟความเร็วสูงโอกาสทางเศรษฐกิจ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งจะทำให้การเดินทางและขนส่งระหว่างจังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกรวมถึงจังหวัดหรือภูมิภาคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถลดระยะเวลาและต้นทุนในการเดินทางเมื่อเทียบกับการเดินทางรูปแบบอื่น ทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน และ การใช้พลังงานทางเลือก เพื่อให้เกิดความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมและลดอุบัติเหตุบนถนน เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีระบบควบคุมที่มีความปลอดภัยสูง จึงมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้น้อยมาก
และยังมีการเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานในเขตกรุงเทพมหาตรและเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา ทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางระหว่างท่าอากาศยานเข้าสู่เขตเมือง เป็นการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พัฒนาสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน ทั้งภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรไทย เตรียมความพร้อมแรงงาน ที่มีทักษะสูง
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนันสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสันให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานาคร กับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Gateway) และพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา เมืองหลัก และ เมืองรอง เพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน
รถไฟความเร็วสูงสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดำเนินการโดย บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ได้ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และเกิดประโยชน์แก่คนในพื้นที่ มุ่งเน้นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ความสำคัญกับวิถีชีวิต การสร้างงาน สร้างรายได้ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนที่จะดำเนินกิจกรรมเพื่อยกระดับและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อให้ทุกคนพร้อมและสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต
บริบทการพัฒนาและปัจจัยความสำเร็จ แนวคิดของการบริหารจัดการพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นการพัฒนาความยั่งยืนด้านสังคม (Sustainability: Social Dimension) และ ประเด็นการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Sustainability: Environmental Dimension) โดยมีการนำเทคโนโลยี เข้ามาพัฒนาชุมชนทั้งในรูปแบบ การสร้างงาน สร้างรายได้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการสร้างธุรกิจใหม่ และ สิ่งเสริมให้ชุมชนใช้เทคโนโลยี โครงการนี้ยังเน้นความสำคัญของการสื่อสาร เพื่อให้ชุมชน ได้มีความรู้ความเข้าใจแบบบูรณาการ

โมเดลแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม